หิมะ

เม้าส์

Three Cute Cherries

ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาว นิรชา ทรงกิตติธรรม

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

"เศรษฐกิจพอเพียง       พ่อให้ นำพา
เปรียบดั่งเป็นปรัชญา       หล่อเลี้ยง
    มัธยัสถ์เพื่อชีวา            เรืองรุ่ง เจริญงาม
   ชีพบ่วายแดเดี้ยง          เพิ่มด้วยสุขศรี"

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โคลงสี่สุภาพ


ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
๑. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้
ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)
๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔
๕. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้ เอกโทษ และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


มงคลสูตรคำฉันท์


มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย

ผู้แต่ง  : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้ นอกจากตัวเราเอง
ความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตร
มาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด
คือ กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตาม
ที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง

"อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด
หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล
หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน"

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ตัวชี้วัด ท 31102 ภาษาไทย

ตัวชี้วัด

๑. อ่านออกเสียงร้อยแก้วร้อยกรองให้ถูกต้อง และเหมาะสม

๒. ตีความแปลความและขยายความที่อ่าน

๓. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่าน

๔. ประเมินค่าเรื่องที่อ่านและนำมาใช้ในชีวิตจริง

๕. แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง และแสดงความคิดเห็นใหม่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

๖. ตอบคำถามเรื่องที่อ่าน

๗. มีมารยาทในการอ่าน

๘. เขียนสื่อสารได้ถูกต้อง ตามรูปแบบและใช้ภาษาได้ถูกต้อง

๙. เขียนเรียงความได้

๑๐. เขียนย่อความได้

๑๑. ประเมินงานเขียนของผู้อื่นและนำมาพัฒนางานเขียนของตน

๑๒. ผลิตงานเขียนของตนเอง ในรูปแบบต่างๆ

๑๓. เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้าเชิงวิชาการ และใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงได้ถูกต้อง

๑๔. บันทึกการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำไปพัฒนาตนเองได้

๑๕. มีมารยาทในการเขียน

๑๖. ประเมินเรื่องที่ฟังและดูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง

๑๗. มีวิจารณญาณในที่เลือกและดู

๑๘. มีมารยาทในการฟังและการดูและการพูด

๑๙. พูดในโอกาสต่างๆ

๒๐. แต่งบทร้อยกรองได้ถูกต้องและเหมาะสม

๒๑. วิเคราะห์ทัศนะของภาษาต่างประเทศได้

๒๒. อธิบายวิเคราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้

๒๓. วิเคราะห์ประเมินการใช้ สิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๒๔. วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีวรรณกรรมหลักตามวิจารญาณเบื้องต้นได้

๒๕. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดีเชื่อมโยงการเรียนรู้ต่อประวัติศาสตร์

๒๖. ประเมินคุณค่าด้านวัฒนธรรมได้

๒๗. สังเคราะห์ข้อคิดจากวรรณคดีวรรณกรรมและนำไปประยุกต์ใช้จริงได้

๒๘. ท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยานที่มีคุณค่าและนำไปใช้อ้างอิงได้